วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โมนาลิซา

           โมนาลิซา (อังกฤษMona Lisa) หรือ ลาโจกอนดา (อิตาลีLa Gioconda) หรือ ลาโชกงด์ (ฝรั่งเศสLa Joconde) คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่าง พ.ศ. 2046 (ค.ศ. 1503) ถึงปีพ.ศ. 2050 (ค.ศ. 1507) เป็นภาพที่มีชื่อเสียงทั่วโลกภาพหนึ่ง เป็นที่รู้จักในฐานะภาพของสุภาพสตรีที่มีรอยยิ้มอันเป็นปริศนา ที่ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Musée du Louvre) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส         

ที่มาของชื่อ         คำว่า "โมนาลิซา" นั้น ได้ถูกตั้งขึ้นโดยจอร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) ศิลปิน และนักชีวประวัติชาวอิตาลี หลังจากดา วินชีได้เสียชีวิตไป 31 ปี ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์นั้นได้บอกไว้ว่าผู้ที่นั่งอยู่ในรูปนั้นคือ ลีซา เกอราร์ดีนี ภรรยาของขุนนางนักธุรกิจไหมผู้มั่งคั่ง ชาวเมืองฟลอเรนซ์นามว่า ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด (Francesco del Giocondo)คำว่า โมนา" (Mona) ในภาษาอิตาลีนั้นก็คือคำว่า มาดอนนา (madonna) คุณผู้หญิง (my lady) หรือ มาดาม (Madam) ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นความหมายของชื่อนั้นก็คือ "มาดาม ลิซา" แต่ในปัจจุบัน บางครั้งก็จะใช้คำว่า มอนนา ลิซา (Monna Lisa)


        ประวัติ
ภาพโมนาลิซ่านี้ถูกวาดโดย ดา วินชี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2046 ถึง พ.ศ. 2050 ใช้เวลานานถึง 4 ปีในการวาด
ในปี ค.ศ. 1516 (พ.ศ. 2059) ดา วินชีได้นำภาพจากอิตาลีไปที่ฝรั่งเศส ด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ที่ทรงปรารถนาที่จะให้ศิลปินทั้งหลายมารวมตัวทำงานกันที่ Clos Lucé ใกล้กับปราสาทในเมืองอัมบัวส์ และยังทรงให้ ดา วินชี วาดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงซื้อภาพโมนาลิซ่า ในราคา 4,000 เอกือ
ในปี ค.ศ. 1519 (พ.ศ. 2062) ดา วินชี ได้เสียชีวิตที่เมืองอัมบัวส์ ประเทศฝรั่งเศส รวมอายุได้ 67 ปี
และต่อมาภาพโมนาลิซ่าถูกนำไปเก็บไว้ที่ พระราชวังฟงเตนโบล ต่อมาก็ในพระราชวังแวร์ซาย หลังจากสิ้นสุดการปฏิวัติฝรั่งเศส ก็ถูกไปนำเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ในห้องสรงของพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ในพระราชวังตุยเลอรี แล้วในที่สุดก็ได้กลับมาที่พิพิธภัณฑ์เหมือนเดิมตอนที่ ดา วินชี เสียชีวิตแล้วได้ยกสมบัติและภาพวาดทั้งหมดให้เป็นมรดกของผู้ติดตามของเขา ฟรานเซสโก เมลซิ (Francesco melci) และเมื่อฟรานเซสโก เมลซิ เสียชีวิตลงก็ไม่ได้ยกมรดกให้ใคร มรดกก็เริ่มกระจัดกระจาย
ในช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ระหว่างปี พ.ศ. 2413 - 2414 ภาพได้ถูกนำออกจากพิพิธภัณฑ์ ไปซ่อนไว้ในที่ลับในประเทศฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ภาพโมนาลิซ่าถูกโจรกรรมออกจากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกว่าจะค้นพบเธอก็ได้ใช้เวลาไปถึง 2 ปี ซึ่งได้พบในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ปัจจุบันเธอถูกดูแลรักษาอย่างดี ในตู้กระจกปรับอากาศกันกระสุน พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ อันเป็นเครื่องหมายสากลว่า โมนา ลิซา จะไม่มีวันที่จะได้เคลื่อนย้ายไปแสดงที่ไหนอีกเป็นเด็ดขาด

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พระราชวังแวร์ซาย


      พระราชวังแวร์ซาย (ฝรั่งเศสChâteau de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่แวร์ซาย ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกรุงปารีส พระราชวังแวร์ซายเป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันด้วย
       
       ประวัติ
       เดิมนั้น เมืองแวร์ซายเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง บริเวณส่วนใหญ่เป็นป่าเขา เยี่ยงชนบทอื่น ๆ ของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส ยังทรงพระเยาว์ ขณะพระชนมายุได้ 23 พระชันษา ทรงนิยมล่าสัตว์ในป่า และทรงเห็นว่าตำบลแวร์ซายน่าจะเหมาะแก่การประทับเพื่อล่าสัตว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาใน พ.ศ. 2167 โดยในช่วงแรกเป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ สำหรับพักชั่วคราวเท่านั้น
เมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองบัลลังก์ มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักเดิมในปี พ.ศ. 2204 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ. 2231ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามมาก ภาย ในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระการตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง
การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายแห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎรชาวฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้มีกองทัพประชาชนบุกเข้ายึดพระราชวังและจับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส กับพระนางมารี อองตัวเนตประหารด้วยกิโยติน ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2332 ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายยังอยู่ในสภาพดีและเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้
      ห้องกระจก
      ห้องกระจก (Galerie des Glaces หรือ The Hall of Mirrors) เป็นห้องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดซึ่งเคยใช้เป็น ห้องลงนามในสัญญาสงบศึกระหว่างสัมพันธมิตรกับจักรวรรดิเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1และใช้เป็นที่ลงนาม ในเมื่อเยอรมนีบุกตีชนะฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ห้องนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำการก่อสร้างเอง ภายในห้องประกอบด้วยกระจกยักษ์ 17 บาน เปิดออกแล้วจะเห็นสวนแวร์ซายอันสวยงาม
      ♥️ในพระราชวังแวร์ซายมี - ทั้งหมด 700 ห้อง - ภาพวาดทั้งหมด 6,123 ภาพ - งานแกะสลักทั้งหมด 15,034 ชิ้น

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สหประชาชาติ

              สหประชาชาติ (อังกฤษUnited Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อแทนที่สันนิบาตชาติ เพื่อยุติสงครามระหว่างประเทศ เพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจา สหประชาชาติมีองค์กรจำนวนมากเพื่อนำภารกิจไปปฏิบัติ

             สหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ระบบสหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ 6 เสาหลัก ได้แก่ สมัชชาใหญ่ คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม สำนักเลขาธิการ และ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ รวมถึงคณะมนตรีภาวะทรัสตี (ปัจจุบันยุติการทำงานแล้ว) นอกจากนี้ยังมีองค์กรอื่น ๆ อีกเช่น องค์การอนามัยโลก ยูเนสโก และยูนิเซฟ ตำแหน่งที่โดดเด่นที่สุดของสหประชาชาติ คือ เลขาธิการสหประชาชาติ ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน คือ พัน กี-มุน ชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2007 ต่อจากโคฟี อันนัน

ประวัติ 
สหประชาชาติถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อสืบทอดองค์การสันนิบาติชาติ  ซึ่งถูกมองว่าไร้ประสิทธิถาพที่จะธำรงรักษาสันติภาพ ดังที่เห็นได้จากความล้มเหลวในการป้องกันสงครามโลกครั้งที่สอง คำว่า "สหประชาชาติ" เป็นแนวคิดของ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ และวินสตัน เชอร์ชิลล์ ถูกใช้ครั้งแรกในกฎบัตรสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ.2485 ซึ่งเป็นการรวบรวมเอาประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร 26 ประเทศในสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกันภายใต้การลงนามในกฎบัตรแ อตแลนติก และกลายเป็นคำที่ใช้เรียกองค์การนี้ในที่สุด การประชุมเพื่อจัดตั้งสหประชาชาติได้จัดขึ้น 5 ครั้ง ได้แก่
  1. การประชุมบนเรือออกุสตา ในมหาสมุทรแอตแลนติก เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2484
  2. การประชุมที่กรุงมอสโก ประเทศสหภาพโซเวียต เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2486
  3. การประชุมที่คฤหาสน์ลัมเบอร์ตันโอคส์ กรุงวอชิงตันดี.ชี. ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2487 ตัวแทนจากประเทศฝรั่งเศส สาธารณรัฐจีน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนการก่อตั้งสหประชาชาติ
  4. การประชุมที่แหลมไครเมีย เมืองยัลตา ประเทศสหภาพโซเวียต เมื่อปี พ.ศ.2488
  5. การประชุมที่เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งการประชุมได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2488   ตัวแทนจาก 50 ประเทศได้ลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2488 ยกเว้นโปแลนด์ที่ไม่สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมได้แต่ได้รับการพิจารณาให้เป็นสมาชิกดั้งเดิม รวมเป็น 51 ประเทศ หลังจากกฎบัตรผ่านการลงนามจากสมาชิก สหประชาชาติจึงได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อกฏบัตรมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2488 หลังจากนั้น การประชุมสมัชชาครั้งแรกเกิดขึ้นที่กรุงลอนดอน เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2489
สหประชาชาติมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่
  1. ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
  2. การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
  3. การเคารพในหลักความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ
  4. การส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประชากรโลก ตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Le Mont-Saint-Michel.


มง-แซ็ง-มีแชล (ฝรั่งเศสLe Mont-Saint-Michel) คือวิหารที่ตั้งอยู่บนเกาะโดดเดี่ยวกลางทะเลชายฝั่งตะวันตก บริเวณจังหวัดม็องช์ แคว้นบัส-นอร์ม็องดีของประเทศฝรั่งเศส ได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2522 ภายใต้ชื่อ มง-แซ็ง-มีแชลและอ่าว[1]ในปีหนึ่งจะมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนมง-แซ็ง-มีแชลกว่า 3 ล้าน 2 แสนคน[2] ซึ่งทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับที่ 3 ของประเทศฝรั่งเศสรองลงมาจากหอไอเฟลและพระราชวังแวร์ซายตัวเกาะอันเป็นที่ตั้งของวิหารนั้นเป็นหินแกรนิต โดยมีเส้นรอบวงเกาะประมาณ 960 เมตร และสูง 92 เมตร แล้วถ้าบวกกับความสูงของตัววิหารนั้นแล้วก็จะมีความสูงถึง 155 แมตร ถือเป็นปราการธรรมชาติตั้งแต่สมัยยุคกลาง โดยตั้งชื่อตามวิหารที่ตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขานั่นเอง บนยอดวิหารเป็นรูปปั้นทองของอัครทูตสวรรค์มีคาเอล (นักบุญมิคาเอล) สร้างโดยเอมานูแอล เฟรมีเย (Emmanuel Frémiet)ในปัจจุบัน มีประชากรอยู่อาศัยบนเกาะ 44 คน จากสถิติ ณ ปีค.ศ.2009[3]

ประวัติ

ก่อนที่จะมีการสถาปนาราชวงศ์แรกของฝรั่งเศสขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เกาะนี้เคยถูกเรียกว่า มงตงบ์ (Mont Tombe) และตามตำนาน วิหารที่อยู่บนเกาะนี้ถูกสร้างโดยการแนะนำของเทวดามีแชล ที่ได้เข้าฝันนักบุญโอแบร์ บิชอปแห่งมาฟร็องช์เมื่อปี พ.ศ. 1251 แต่เขาก็มิได้ปฏิบัติตาม เนื่องจากนึกว่าปีศาจได้มาเข้าฝัน เขาจึงได้เพิกเฉยไป จนมาถึงการฝันครั้งที่ 3 มีแชลได้ใช้นิ้วของเขาจิ้มที่หัวของโอแบร์ และเมื่อเขาตื่นขึ้นมา เขาก็ได้ตะลึงว่ามีรูอยู่บนหัวจริง ๆ จากนั้นมาเขาจึงตัดสินใจสร้างวิหารบนยอดเขา

ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เนื่องจากไม่มีพระจำพรรษา ตัววิหารได้ถูกเปลี่ยนเป็นที่คุมขังนักโทษสำคัญการเมือง จนกระทั่งวิกตอร์ อูโก ได้มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์เพื่อคืนความเป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญทางสถาปัตยกรรมของชาติ และในที่สุดได้มีการยกเลิกการเป็นเรือนจำ และได้ถูกเปลี่ยนสถานะเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในปีค.ศ. 1874

ในปีค.ศ.1979 ได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรม โดยองค์การยูเนสโก