วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สหประชาชาติ

              สหประชาชาติ (อังกฤษUnited Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อแทนที่สันนิบาตชาติ เพื่อยุติสงครามระหว่างประเทศ เพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจา สหประชาชาติมีองค์กรจำนวนมากเพื่อนำภารกิจไปปฏิบัติ

             สหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ระบบสหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ 6 เสาหลัก ได้แก่ สมัชชาใหญ่ คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม สำนักเลขาธิการ และ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ รวมถึงคณะมนตรีภาวะทรัสตี (ปัจจุบันยุติการทำงานแล้ว) นอกจากนี้ยังมีองค์กรอื่น ๆ อีกเช่น องค์การอนามัยโลก ยูเนสโก และยูนิเซฟ ตำแหน่งที่โดดเด่นที่สุดของสหประชาชาติ คือ เลขาธิการสหประชาชาติ ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน คือ พัน กี-มุน ชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2007 ต่อจากโคฟี อันนัน

ประวัติ 
สหประชาชาติถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อสืบทอดองค์การสันนิบาติชาติ  ซึ่งถูกมองว่าไร้ประสิทธิถาพที่จะธำรงรักษาสันติภาพ ดังที่เห็นได้จากความล้มเหลวในการป้องกันสงครามโลกครั้งที่สอง คำว่า "สหประชาชาติ" เป็นแนวคิดของ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ และวินสตัน เชอร์ชิลล์ ถูกใช้ครั้งแรกในกฎบัตรสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ.2485 ซึ่งเป็นการรวบรวมเอาประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร 26 ประเทศในสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกันภายใต้การลงนามในกฎบัตรแ อตแลนติก และกลายเป็นคำที่ใช้เรียกองค์การนี้ในที่สุด การประชุมเพื่อจัดตั้งสหประชาชาติได้จัดขึ้น 5 ครั้ง ได้แก่
  1. การประชุมบนเรือออกุสตา ในมหาสมุทรแอตแลนติก เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2484
  2. การประชุมที่กรุงมอสโก ประเทศสหภาพโซเวียต เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2486
  3. การประชุมที่คฤหาสน์ลัมเบอร์ตันโอคส์ กรุงวอชิงตันดี.ชี. ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2487 ตัวแทนจากประเทศฝรั่งเศส สาธารณรัฐจีน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนการก่อตั้งสหประชาชาติ
  4. การประชุมที่แหลมไครเมีย เมืองยัลตา ประเทศสหภาพโซเวียต เมื่อปี พ.ศ.2488
  5. การประชุมที่เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งการประชุมได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2488   ตัวแทนจาก 50 ประเทศได้ลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2488 ยกเว้นโปแลนด์ที่ไม่สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมได้แต่ได้รับการพิจารณาให้เป็นสมาชิกดั้งเดิม รวมเป็น 51 ประเทศ หลังจากกฎบัตรผ่านการลงนามจากสมาชิก สหประชาชาติจึงได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อกฏบัตรมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2488 หลังจากนั้น การประชุมสมัชชาครั้งแรกเกิดขึ้นที่กรุงลอนดอน เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2489
สหประชาชาติมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่
  1. ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
  2. การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
  3. การเคารพในหลักความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ
  4. การส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประชากรโลก ตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น